แหล่งเรียนรู้
เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค
เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค
1) คำจำกัดความ แผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนของเปลือกโลกในระดับขนาดแตกต่างกัน หากมีขนาดมากกว่า 5 จะเป็นการสั่นสะเทือนที่รุนแรง ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมากในแต่ละปีทั่วโลก มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นแสนครั้งและแต่ละวันเกิดเป็นหลายร้อยครั้ง
2) กระบวนการเกิดแผ่นดินไหว เกิดขึ้นเมื่อ
• มีการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนมีพลังในแผ่นธรณีภาค เกิดการสะสมแรงเค้นและความเครียดอย่างช้า ๆ ใต้เปลือกโลก เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน รอยเลื่อนในแผ่นเปลือกโลกจะ ปลดปล่อยพลังงานที่สะสมใต้เปลือกโลกเป็นคลื่นไหวสะเทือน เกิดการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน
• เมื่อเกิดการปะทุของภูเขาไฟที่แมกมาแทรกดันขึ้นมาตามรอยแตก หรือปล่องภูเขาไฟ ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่มีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน การปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทร เป็นอีกระบวนการหนึ่งที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว หรือสึนามิขึ้น
3) ประเภทของรอยเลื่อนมีพลัง มี 3 ประเภทหลัก ดังนี้
3. รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike -
slip fault) หรือรอยเลื่อนเหลื่อม
ข้าง (transcurrent fault)
เป็นรอยเลื่อนในหินที่สองด้านเคลื่อน
ตัวในแนวราบเฉือนกัน
1.รอยเลื่อนปกติ (normal fault)
เป็นรอยเลื่อนที่หินเพดานเลื่อนลง
เมื่อเทียบกับหินพื้น
2. รอยเลื่อนย้อน(reverse fault)
เป็นรอยเลื่อนที่หินเพดานเลื่อนขึ้น
เมื่อเทียบกับหินพื้น ถ้ารอยเลื่อนย้อน
มีค่ามุมเท่ากับหรือน้อยกว่า 45 องศา
เรียกว่ารอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ
4) สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว การเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุหลัก 2 ประการ ดังนี้
4.1) การเคลื่อนตัวฉับพลันของรอยเลื่อนมีพลัง ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เกิดขึ้นในชั้นเปลือกโลก ซึ่งยังคงมีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อพลังงานจากความเครียดที่สะสมบริเวณรอยเลื่อนมีมากจึงเกิดการปรับสมดุลใหม่ แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงมากมักเกิดในบริเวณการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเข้าหากัน
4.2) การปะทุของภูเขาไฟอย่างรุนแรง เช่น การปะทุของแก๊ส ไอน้ำการไหลพุ่งของลาวาออกสู่ภายนอกปล่องภูเขาไฟหรือบริเวณรอยแยกของเปลือกโลก
5) ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว มาตรวัดขนาดและความรุนแรงของ การสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่นิยมใช้ ได้แก่
5.1) ขนาดของแผ่นดินไหว (magnitude) เป็นการวัดพลังงานของแผ่นดินไหว ที่ปลดปล่อยออกมา เป็นการคำนวณปริมาณพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางการเกิด แผ่นดินไหวที่วัดได้จากความสูงของคลื่น (amplitude) จากเส้นไซสโมแกรม หากมีความสูงมากแสดงว่าพื้นดินจะมีการสั่นสะเทือนมาก หรือแสดงว่ามีแผ่นดินไหวรุนแรงมากมาตรวัดขนาดแผ่นดินไหวที่สำคัญ ได้แก่ มาตราริกเตอร์ (Richter Scale) นิยมใช้กับแผ่นดินไหวที่มีขนาดเล็กกว่า หรือเท่ากับ 6 ถ้ามากกว่านั้นใช้ มาตราโมเมนต์ (Moment Scale) เนื่องจากมีความละเอียดและแม่นยำกว่า ขนาดแผ่นดินไหวแสดงในตาราง ดังนี้
ขนาดตาม มาตราริกเตอร์ | ระดับ | ผลกระทบ |
0 - 3.0 3.0 - 3.9 4.0 - 4.9 5.0 - 5.9 6.0 - 6.9 7.0 - 7.9 8.0 ขึ้นไป | ขนาดเล็กมาก (micro) ขนาดเล็ก (minor) ขนาดเบา (light) ขนาดปานกลาง(moderate) ขนาดรุนแรง (strong) ขนาดรุนแรงมาก (major) ขนาดใหญ่มาก (great) | ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการสั่นไหว ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน ผู้คนรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุที่ห้อยแขวนแกว่งไกว สั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้างเครื่องเรือนและวัตถุมีการเคลื่อนที่ สั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหายพังทลาย สิ่งก่อสร้างเสียหายมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่พื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น สิ่งก่อสร้างถูกทำลายหมด |
5.2) ความรุนแรงของแผ่นดินไหว(intensity)เป็นการวัดจากความรู้สึกที่รับรู้ และผลกระทบจากความเสียหาย
ที่มีต่อคน โครงสร้าง อาคาร และพื้นดิน ใช้มาตราเมอร์คัลลี ปรับปรุง ซึ่งมีค่าระหว่าง I - XII ความรุนแรงมีผลกระทบ ดังตาราง
ขนาด | ความรุนแรง | ผลกระทบ |
น้อยกว่า 3.0 3.0 - 3.9 4.0 - 4.9 5.0 - 5.9 6.0 - 6.9 7.0 - 7.9 มากกว่า 8.0 | I - II III IV - V VI - VII VII - VIII IX - X XI - XII | ประชาชนไม่รู้สึก ตรวจวัดได้เฉพาะเครื่องมือ คนอยู่ในบ้านเท่านั้นรู้สึก ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกได้ ประชาชนทุกคนรู้สึก และอาคารเสียหาย ประชาชนตื่นตกใจ และอาคารเสียหายปานกลาง อาคารเสียหายอย่างมาก อาคารเสียหายเกือบทั้งหมด |
ที่มา : www.dmr.go.th/กรมทรัพยากรธรณี
6) การกระจายการเกิดแผ่นดินไหวของโลก
แผนที่แสดงการกระจายการเกิดแผ่นดินไหวของโลกในช่วง พ.ศ.2543-2564
ที่มา: https://earthquake.usgs.gov/earthquakes/
จากแผนที่จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวส่วนใหญ่อยู่บริเวณวงแหวนแห่งไฟในบริเวณแนวรอยต่อแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกที่มีการขยายตัวตลอดเวลา ซึ่งจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและความลึกของแผ่นดินไหว ส่งผลต่อความรุนแรง กระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินเช่น แผ่นดินไหวที่ประเทศเปรู เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 มีขนาด 6.1 บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวมีประชากร อาศัยอยู่หนาแน่น แต่ไม่มีความเสียหาย เนื่องจากระดับความลึกของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในระดับปานกลาง 143 กิโลเมตรจากพื้นดิน ขณะที่เดือนเดียวกันที่เมืองตาบริซ ประเทศอิหร่าน เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ระดับความลึกของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว 9.9 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในระดับตื้น ส่งผลให้หมู่บ้านเสียหาย มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก แสดงว่าระดับความลึกของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในระดับตื้นจะอันตรายมากกว่าระดับลึก
แผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย
7) ภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากแผ่นดินไหวรุนแรง
1. เกิดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินรุนแรง ทำให้สิ่งก่อสร้างพัง แผ่นดินแยก หรือ แผ่นดินทรุด ผู้คนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
2. เกิดไฟไหม้ การเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในพื้นที่ชุมชนที่มีการใช้แก๊สหุงต้ม เมื่อท่อแก๊สรั่ว จะทำให้เกิดไฟไหม้อย่างรุนแรงและอาจทำให้มีการเสียชีวิตตามมาด้วย
3. เกิดสึนามิ จากการเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงใต้ทะเล หรือมหาสมุทร ซึ่งทำลายอาคาร สิ่งก่อสร้าง ทรัพย์สิน และชีวิตมนุษย์จำนวนมากบริเวณชายฝั่งทะเล
4. เกิดแผ่นดินถล่มในพื้นที่เทือกเขาหรือพื้นที่ลาดชัน ทำให้อาคารบ้านเรือนที่อยู่เชิงเขาพังทลายและอาจมีการเสียชีวิตของผู้คนจำนวนมากได้
การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย เกิดจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมของรอยเลื่อนมีพลัง จำนวน 14 กลุ่ม พบอยู่ ในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศ เนื่องจากเป็นรอยเลื่อนขนาดเล็ก ทำให้เกิดแผ่นดินไหวไม่รุนแรงมาก แผ่นดินไหวที่เกิดรุนแรง เช่น แผ่นดินไหวที่มีจุดเหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหวอยู่ที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เนื่องจากมีแนวรอยแยกเป็นจำนวนมาก กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาด 6.3 ลึก 7.4 กม.ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 100 ปี
ศูนย์กลางแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และมีผลต่อไทย มักอยู่บริเวณหมู่เกาะอันดามัน อินโดนีเซีย เมียนมา ทางตอนใต้ของจีน และทางตอนเหนือของลาว
ประเทศไทยมีแนวรอยเลื่อนมีพลังที่ยังอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ 14 รอยเลื่อน ได้แก่ แม่จัน แม่อิง ปัว พะเยา แม่ทา แม่ฮ่องสอน เถิน อุตรดิตถ์ เมย เพชรบูรณ์ ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และคลองมะลุ่ย
1) คําจํากัดความ ภูเขาไฟปะทุเป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่มีความรุนแรง แตกต่างกันไปตามลักษณะการปะทุและประเภทของการปะทุ ทั่วโลก มีภูเขาไฟมีพลังประมาณ 1,500 ลูก ส่วนใหญ่อยู่ตามแนววงแหวนแห่งไฟในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก การปะทุของภูเขาไฟ มีหลายแบบ เช่น แบบแมกมาแทรกดันหรือพุขึ้นมาตามรอยแตก หรือปะทุจากปล่อง จนเหนือ พ้นพื้นผิวเปลือกโลก หรือเกิด การปะทุอย่างรุนแรงทําให้ฝุ่น เถ้าธุลี แก๊ส ไอนํ้า และเศษหินภูเขาไฟ จํานวนมากปะทุสูงขึ้นไปในอากาศเป็นระยะ 5-20 กิโลเมตร
2) กระบวนการเกิดภูเขาไฟปะทุ ภายใต้เปลือกโลกมีการไหลเวียนของแมกมาอยู่ ตลอดเวลา เมื่อเปลือกโลกมีจุดอ่อน เช่น รอยต่อระหว่างเปลือกโลก การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ในบริเวณรอยต่อดังกล่าว เช่น การมุดเข้าหากัน หรือแยกออกจากกัน ทําให้แมกมาที่อยู่ภายใต้ มีแรงดันที่สูงจึงเคลื่อนตัวขึ้นสู่ผิวโลกผ่านรอยแตกของชั้นหินต่างๆ ลักษณะการปะทุ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของแมกมาในบริเวณนั้น
3) ประเภทการปะทุของภูเขาไฟ ตามลักษณะความรุนแรงของการปะทุ มีดังนี้
พลิเนียน (Plinian)
วัลเคเนียน (Vulcanian)
สตรอมโบเลียน (Strombolian)
ฮาวายเอียน (Hawaiian)
เป็นการปะทุที่รุนแรงมากที่สุด มีลาวาที่เหนียวข้นการพ่นเถ้าธุลี เศษหิน และแก็ส ขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสแตรโทพเฟียร์ ตัวยความเร็วมหาศาลทำให้เศษหินกระจ่ายออกไปใด้ไกลจากภูเขาไฟมาก การปะเทุแบบนี้อาจทำให้เกิดภูเขาไฟแบบกรวยกรวดภูเขาไฟ หรือ แบบกรวยภูเขาไฟสลับชั้น
เป็นการปะทุรุนแรงในระยะเวลาสั้นๆ ลาวาที่ขันหนืดมีการพ่นและระเบิดของเศษหินออกจากปล่องการปะทุแบบนี้มีความรุนแรงที่ทำให้เศษหินกระเต็นออกไปด้วยความเร็วมากกว่านาทีละ 350 เมตร และ
มีความสูงในบรรยากาศได้หลายกิโลเมตร ทำให้เกิดหมอกควันคล้ายดอกเห็ดในบรรยากาศ การปะทุแบบนี้ทำให้เกิดภูเขาไฟแบบกรวยกรวดภูเขาไฟ
เป็นการปะทุของลาวาเหลวออกจากปล่อง ทำให้เศษหินทับถมที่ปากปล่อง การปะทุจะเกิดขึ้นในเวลาสั้นๆ อาจทำให้ลาวาพวยพุ่งไปในอากาศสูงหลายร้อยเมตรก่อนตกลงมา เศษหินกระจัดกระจาย รวมถึงเถ้าหรือบอมบ์ และมีลาวาไหลหลากปานกลาง ลักษณะการปะทุ แบบนี้ทำให้เกิดภูเขาไฟหลายแบบ เช่น แบบกรวยกรวดภูเขาไฟหรือแบบกรวยภูเขาไฟสลับชั้น
เป็นการปะทุที่มีความรุนแรงน้อยสุด มีการพ่นลาวาร้อนเป็นลำขึ้นไปในอากาศคล้ายน้ำพุ มีลาวาหลากไหลเป็นลำธารออกจากปล่องลาวาที่เหลวจะสะสมกัน จนเกิดเป็นภูเขาไฟรูปโล่
4) สาเหตุการเกิดภูเขาไฟปะทุ มีดังนี้
4.1) เกิดจากการเคลื่อนที่ของแมกมา มีแรงดันปะทุขึ้นเหนือแผ่นดินตามรอยต่อ ระหว่างแผ่นเปลือกโลก รอบวงแหวนแห่งไฟ เช่น ภูเขาไฟกรากะตัว ภูเขาไฟซีนาบุง ประเทศ อินโดนีเซีย
4.2) เกิดจากจุดร้อนนอกรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก ใต้แผ่นเปลือกโลก มีจุดร้อนที่มีแมกมาร้อนจัดพร้อมที่จะปะทุขึ้นมาเหนือผิวโลก เช่น บริเวณกลางแผ่นเปลือกโลก แปซิฟิกมีจุดร้อนที่หมู่เกาะฮาวาย
5) การกระจายของภูเขาไฟมีพลังของโลก
แผนที่แสดงการกระจายของภูเขาไฟบริเวณวงแหวนแห่งไฟ
จากแผนที่ การกระจายของภูเขาไฟอยู่บริเวณวงแหวนแห่งไฟในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นบริเวณที่มีรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกกับแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือด้านตะวันออกและแผ่นฟิลิปปิน แผ่นอินโด-ออสเตรเลียด้านตะวันตก โดยแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกด้านตะวันออกจะมุดเข้าไปใต้แผ่นอเมริกา ขณะที่แผ่นฟิลิปปินและแผ่นอินโด-ออสเตรเลียมุดเข้าไปใต้แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกทำให้รอยต่อเกิดจุดอ่อนที่ส่งผลให้แมกมาไหลขึ้นเหนือผิวดินได้
6) ภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุรุนแรง มีดังนี้
แก๊สภูเขาไฟ (volcanic gas)
ที่ฟรา (tephra)
ลาวาหลาก (lava flow)
แผ่นดินถล่มจากภูเขาไฟปะทุ
ลาฮาร์ (lahar)
หินตะกอนภูเขาไฟหลาก
(pyroclastics)
เป็นแก๊สที่ละลายเป็นของเหลวอยู่ในแมกมา มีความเป็นกรดจัด ประกอบด้วยไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซต์ ซัลเฟอร์ไตออกไซต์ และไฮโตรเจนเฮไลด์ ซึ่งเมื่อปะทุเป็นกลุ่มควันขึ้นสู่บรรยากาศลอยไปตามกระแสลม และเมื่อตกลงมาคล้ายฝนกรดที่เป็นพิษ เมื่อสัมผัส หรือสูดดมเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดความ ระคายเคืองที่ผิวหนัง
เป็นตะกอนภูเขาไฟขนาดต่างๆ ที่ถูกพุ่งออกมาจากภูเขาไฟ และถูกพัดพาไปในอากาศ ฝุ่นภูเขาไฟ เถ้าธุลีภูเขาไฟ ตะกรันภูเขาไฟ บอมบ์ภูเขาไฟ เมื่อเวลานานมากขึ้นจะผุพังอยู่ร่วมกันรอบภูเขาไฟ หากอยู่บนพื้นที่ลาดชันและมีฝนตกมากอาจทำให้เกิดการถล่ม เป็นอันตรายต่อผู้คน สิ่งก่อสร้าง และชุมชนที่อยู่รอบเชิงเขาได้
เป็นลาวาเหลวไหลออกไปจากปล่องภูเขาไฟ หรือรอยแตกของเปลือกโลกมีลักษณะเหมือนลำธารลาวา ไหลเคลื่อนที่อย่างช้าๆ ก่อนที่จะแข็งตัว สามารถทำลายอาคารและทรัพย์สินที่เคลื่อนผ่านได้
แรงสั่นสะเทือนและแรงตันของแมกมาทำให้หิน ดิน ด้านข้างของภูเขาไฟเกิดการพังทลายเป็นแผ่นดินถล่ม เคลื่อนที่ลงสู่พื้นที่ต้านล่างอย่างรวดเร็ว ดังตัวอย่างภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ ที่เกิดใน พ.ศ. 2523
เป็นฝุ่นและเถ้าธุลีภูเขาไฟที่ใหลออกมาจากปล่องภูเขาไฟ แล้วไหลลงไปกองทับถมกันด้านข้างของภูเขาไฟ รวมตัวกับน้ำจากฝนหรือหิมะละลาย ทำให้มีลักษณะเป็นโคลนไหลลงสู่พื้นที่ด้านล่างของภูเขาไฟทับถมบ้านเรือน และพื้นที่การเกษตรเสียหาย
เป็นฝุ่น เถ้าธุลี และเศษหินภูเขาไฟที่มีอุณหภูมิสูงมาก ปะทุออกจากปล่องภูเขาไฟแล้วไหลลงไปตามความลาดของขอบต้านข้างลงสู่ต้านล่างอย่างรวดเร็ว จะเผาไหม้สิ่งต่าง ๆ ที่หินตะกอนภูเขาไฟหลากเคลื่อนผ่าน
1) คําจํากัดความ สึนามิ คือ คลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุรุนแรงใต้ทะเลหรือมหาสมุทร และเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 500 - 700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือมากกว่า เข้าสู่ชายฝั่ง เมื่ออยู่ในทะเลเปิด คลื่นจะมีความสูงน้อย แต่มีความยาวคลื่นมาก เมื่อคลื่นเคลื่อน เข้าสู่ชายฝั่งน้ำตื้นจะมีความเร็วและความยาวคลื่นลดลง แต่ความสูงคลื่นเพิ่มขึ้น ทำให้คลื่นมีอำนาจ การทำลายสูงทั้งชีวิต อาคารที่อยู่อาศัย และทรัพย์สิน สึนามิเกิดบ่อยบนพื้นที่ชายฝั่งในประเทศ ญี่ปุ่นที่มีเรือจอดอยู่จำนวนมากทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก จึงเป็นที่มาของชื่อ “สึนามิ” ที่แปลว่า คลื่นท่าเรือ (“nami” แปลว่า คลื่น และ “tsu” แปลว่า ท่าเรือ)
2) กระบวนการเกิดสึนามิ มีดังนี้
• เกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟปะทุใต้ทะเลหรือมหาสมุทรอย่างรุนแรง ทำให้ น้ำทะเลกระเพื่อมตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ
• ขณะที่อยู่ในทะเล คลื่นมีความสูงน้อยกว่า 1 เมตร แต่มีความยาวคลื่นประมาณ 100 - 200 กิโลเมตร
• คลื่นเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งด้วยความเร็วมากกว่า 700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเมื่อเข้าใกล้ชายฝั่ง คลื่นจะสูงมากขึ้น
ถึง 10 เมตรหรือมากกว่า คล้ายกำแพงน้ำซัดเข้าสู่ชายฝั่ง ด้วยความเร็ว
ภาพจำลองการเกิดสึนามิอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศใต้น้ำ
3) ประเภทของสึนามิ สึนามิแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
3.1) สึนามิระยะใกล้ หรือสึนามิท้องถิ่น (local tsunami) เป็นสึนามิที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ใกล้ชายฝั่ง คลื่นจะใช้ระยะเวลาเคลื่อนที่เข้าสู่ชายฝั่งประมาณ 30 - 60 นาที
3.2) สึนามิระยะไกล (distant tsunami) มีแหล่งกำเนิดสึนามิอยู่ห่างไกลจากชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบ คลื่นจะใช้เวลาในการเดินทางเคลื่อนที่ถึงชายฝั่ง 4 - 8 ชั่วโมง หรือมากกว่า
4) สาเหตุการเกิดสึนามิ ที่สำคัญ มีดังนี้
4.1) แผ่นดินไหวใต้ทะเล หรือมหาสมุทรอย่างรุนแรง มักเกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวจนน้ำกระเพื่อมขึ้นสู่ผิวน้ำและทำให้เกิดสึนามิตามมา
4.2) เกาะภูเขาไฟปะทุ หรือภูเขาไฟใต้ทะเลปะทุอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนและแรงผลักดันน้ำทะเลขึ้นสู่ผิวน้ำจนเกิด สึนามิตามมา
4.3) แผ่นดินถล่มขนาดใหญ่ใต้ทะเล โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อของไหล่ทวีปกับที่ลาดทวีป การเกิดดินถล่มที่รุนแรงทำให้กองดินทรายไหลลงสู่ที่ลาดทวีปอย่างรวดเร็วจนน้ำทะเลปั่นป่วนและเกิดเป็นสึนามิตามมา
4.4) อุกกาบาตขนาดใหญ่ตกในทะเล เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสึนามิได้ แม้จะมีโอกาสการเกิดไม่มากนัก
สาเหตุการเกิดสึนามิ
5) การกระจายการเกิดสึนามิของโลก
แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงการเกิดสึนามิของโลก
จากแผนที่ พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิ เช่น ชายฝั่งของประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีระดับความเสี่ยงตั้งแต่เสี่ยงมาก พบตามชายฝั่งประเทศรอบวงแหวนแห่งไฟแปซิฟิก เสี่ยงปานกลาง เช่น ชายฝั่งประเทศออสเตรเลียและแอฟริกา และเสี่ยงน้อย เช่น ชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ และตอนใต้ของทวีปแอฟริกา โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสึนามิ คือ แผ่นดินไหวและการปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทรอย่างรุนแรง มักเกิดขึ้นตามรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกในมหาสมุทร
6) ภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากสึนามิรุนแรง โดยสรุป มีดังนี้
1. เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ปะการัง หรือป่าชายเลนที่ถูกคลื่นซัดจนหักโค่น หรือหลุดลอยไปกับมวลน้ำ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศชายฝั่งทะเล ทั้งชายฝั่งทะเลที่ถูกทำลายและมีการทับถมสร้างแนวชายฝั่งใหม่
2. ทำให้น้ำทะเลท่วมเข้าไปในชายฝั่งทะเล ส่งผลให้น้ำเค็มเข้าไปผสมในแหล่งน้ำจืด
3. ทำลายอาคาร สิ่งก่อสร้างที่มีโครงสร้างไม่มั่นคงแข็งแรงจำนวนมาก ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
4. เกิดการสูญเสียชีวิตของมนุษย์ สัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่าจำนวนมาก
1) คําจํากัดความ แผ่นดินถล่มเป็นภัยที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของมวลดินและ เศษหิน ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกโดยมีน้ำหรือแรงสั่นสะเทือนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนที่ตามบริเวณพื้นที่ลาดชันของภูเขา อาจเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ หรืออย่างฉับพลัน ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อชีวิตและทรัพย์สิน
2) กระบวนการเกิดแผ่นดินถล่ม มีดังนี้
• มีการสั่นสะเทือนในพื้นที่ เช่น แผ่นดินไหว ทำให้เศษหิน ดิน ร่วงหล่นลงมา ตามแรงโน้มถ่วงของโลก หรือมีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ลาดชันบนภูเขา หรือเทือกเขา
• พื้นที่ลาดชันไม่สามารถรับน้ำหนักได้ทำให้เกิดดินถล่มลงมา การเคลื่อนที่ของ มวลดิน หิน มีทั้งความเร็วปานกลางและความเร็วมาก โดยมีน้ำเป็นตัวขับเคลื่อน
• ในพื้นที่เทือกเขาหินปูนที่มีโพรงใต้ดิน อาจเกิดแผ่นดินถล่มหรือหลุมยุบขนาดใหญ่ได้
3) ประเภทของแผ่นดินถล่ม ตามความเร็วในการเคลื่อนที่และในสภาพที่มีน้ำ หรือ ไม่มีน้ำ ที่สำคัญ เช่น
ประเภทของแผ่นดินถล่ม ตามความเร็วในการเคลื่อนที่ เรียงจากช้าที่สุด (ซ้าย) ไปเร็วที่สุด (ขวา)
4) สาเหตุการเกิดแผ่นดินถล่ม มีทั้งสาเหตุจากธรรมชาติและจากมนุษย์ ดังนี้
4.1) สาเหตุจากธรรมชาติ เช่น การเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง ส่งผลให้แผ่นดินบริเวณลาดเขาที่มีความชันเกิดการเคลื่อนที่ลงมาตามแรงดึงดูดของโลก การมีฝนตกหนักต่อเนื่องน้ำฝนจะซึมไปสะสมอยู่ในดิน เมื่อดินไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้จะลื่นไถลลงตามความลาดชัน และมักมีต้นไม้ เศษหินเลื่อนไหลตามไปด้วยนอกจากนี้ ยังเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภูเขาไฟปะทุ หิมะถล่ม น้ำแข็งใต้ดินละลาย
4.2) สาเหตุจากมนุษย์ เช่น การเพาะปลูก การปลูกสิ่งก่อสร้างบนพื้นที่ลาดชันการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่ ทำสวน การตัดถนนตามไหล่เขา
5) การกระจายการเกิดแผ่นดินถล่มของโลก
แผนที่แสดงการเกิดแผ่นดินถล่มของโลก
จากแผนที่ พื้นที่เกิดแผ่นดินถล่มมักเป็นบริเวณที่ลาดเชิงเขา หรือพื้นที่ราบด้านหน้าภูเขาที่มีการพังทลายของดินสูง หรือพื้นที่ต้นน้ำที่มีการทำลายป่ามาก หรือเกิดบริเวณหน้าผาที่เป็นหินชนิดผุพังง่าย โดยหินนั้นรองรับชั้นดินที่มีความลาดเทสูงและน้ำซึมผ่านได้สะดวก เมื่อเกิดพายุฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และเกิดแผ่นดินถล่มได้ง่าย บริเวณที่เกิดแผ่นดินถล่มบ่อย เช่น ชุมเขายูนนานและชุมเขาปามีร์ ในทวีปเอเชีย เทือกเขาแอลปในทวีปยุโรป เทือกเขาร็อกกีทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ เทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้
สำหรับประเทศไทย แผ่นดินถล่มมีสาเหตุสำคัญมาจากการมีฝนตกหนักและมีฝนตกต่อเนื่องหลายวัน ถ้ามีปริมาณฝนภายใน 24 - 48 ชั่วโมง มากกว่า 300 มิลลิเมตร โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มได้มาก เนื่องจากมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงและเนินเขาเป็นจำนวนมาก
6) ภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากแผ่นดินถล่มรุนแรง มีดังนี้
1. ทำให้บ้านเรือนพังทลายเสียหาย เนื่องจากถูกดินไหลเลื่อนถล่มทับ
2. ทำให้ผู้คนและสัตว์เลี้ยงบาดเจ็บล้มตายและสูญหาย
3. ทำให้พื้นที่เกษตรและพืชผลทางการเกษตรเสียหาย
4. เส้นทางคมนาคมต่าง ๆ ถูกทำลาย ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมากในการซ่อมแซมให้ดีดังเดิม นอกจากนี้ เส้นทางคมนาคมที่ชำรุดอาจถูกปิด ทำให้การสัญจรไปมาได้รับความยากลำบาก
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค
เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค
ชื่อผลงาน : โครงงานสังคมศึกษา เรื่อง การศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการพังทลายของตลิ่งริมฝั่งแม่น้้าชีด้วยกระบวนการทาง
ภูมิศาสตร์
รางวัล : ครูที่ปรึกษารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ โครงงานสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาที่ 4-6
งานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ครั้งที่ 11 ประจ้าปี 2562
หนังสือสรุปผลการดำเนินโครงงาน
กระบวนการทางภูมิศาสตร์แก้ไขปัญหาตลิ่งพัง
การทดลองเกี่ยวกับธรณีสัณฐาน
ที่เกิดในระบบการท้างานของธารน้้าด้วย
โต๊ะทดลองกระแสน้้า (Stream Table)
สภาพพื้นที่ศึกษา บริเวณแม่น้ำชีในพื้นที่่
บ้านหนองหญ้าข้าวนก อ.พระยืน จ.ขอนแก่น
กรมทรัพยากรธรณี
https://www.dmr.go.th/
กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา https://earthquake.tmd.go.th/
สนุกคิดสนุกทำ
เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค
เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาค
กิจกรรมที่ 1 ให้นักเรียนดูคลิปการทดลองต่อไปนี้และแล้วสรุปองค์ความรู้ลงสมุดโดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ดังนี้
1) ถามเชิงภูมิศาสตร์ 2) การรวบรวมข้อมูล 3) การจัดการข้อมูล 4) การวิเคราะห์ข้อมูล 5) การสรุปเพื่อหาคำตอบ
Geophysical Classroom Experiments : Plate Tectonics
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=aI8Mf83ECaM
กิจกรรมที่ 2
tiwaaa@watklang.ac.th
line กลุ่มวิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5