Clear Blue Sky

เรื่องที่ 3

ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค

เรื่องที่ 3

ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค

Global warming poster with factory on earth
Drought
Dry Tree in Desertification
World Wildfire impact by climate change
Buffalo Animal Dead Skull in the Desert
Weather icon. Hand drawn cute weather element. Meteorology symbol
Flood Illustration
Cloud and Bolt
3D button. Empty button. 3D illustration.

กลับหน้าหลัก

3D button. Empty button. 3D illustration.

เมนูหลัก

3D button. Empty button. 3D illustration.

สถานการณ์ปัญหา

3D button. Empty button. 3D illustration.

เนื้อหาบทเรียน

Illustration of Internet
3D button. Empty button. 3D illustration.

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

3D button. Empty button. 3D illustration.

ทบทวนความรู้

3D button. Empty button. 3D illustration.

สนุกคิดสนุกทำ

education examination icon
3D button. Empty button. 3D illustration.

ทดสอบหลังเรียน

3D button. Empty button. 3D illustration.

ติดต่อครูผู้สอน

Clear Blue Sky

สถานการณ์ปัญหา

Gadget Mockup Frames Laptop
Home Button 3D Illustration
Clear Blue Sky

แหล่งเรียนรู้

เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค

เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค

อ ทกภ ย flood

1) คำจำกัดความ อุทกภัยเป็นภัยที่เกิดจากน้ำในลำน้ำ แอ่งน้ำ ทะเลสาบ ไหลล้น ตลิ่ง หรือน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่หนึ่งเป็นระยะ​เวลาสั้นหรือเป็นครั้งคราว เนื่องจากมีฝนตกหนัก หรือหิมะละลาย ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่เกษตร ชีวิตและทรัพย์สิน​ของประชาชน

2) ประเภทของอุทกภัย แบ่งได้ ดังนี้

2.1) น้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำป่าไหลหลาก เกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนักในบริเวณ ต้นน้ำที่มีความลาดชัน หรือในที่ลาดเชิง​เขาที่มีเทือกเขาสูงชัน เมื่อฝนตกหนักบนภูเขา ดิน และ ต้นไม้ไม่สามารถดูดซับน้ำได้หมด ปริมาณน้ำจำนวนมากจึงไหลอย่าง​รวดเร็วลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า ความรุนแรงและความเร็วของกระแสน้ำทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

2.2) น้ำท่วมขัง เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมากที่ไหลบ่าในแนวระนาบ จากที่สูงไปยังที่ต่ำเข้าท่วมบ้านเรือน พื้นที่​การเกษตรได้รับความเสียหาย หรือเกิดน้ำท่วมขัง เนื่องจากฝนตกหนักต่อเนื่อง มวลน้ำไม่สามารถระบายออกได้ทัน หรือมีสิ่ง​กีดขวางทางน้ำไหล เช่น น้ำท่วมขังในเขตเมือง หรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ใกล้ชายฝั่ง

2.3) น้ำล้นตลิ่ง เกิดจากปริมาณน้ำจำนวนมากที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่อง ที่ไหลลงสู่ลำน้ำ หรือแม่น้ำมีปริมาณมากจนระบายสู่​ลุ่มน้ำด้านล่าง หรือออกสู่ทะเลไม่ทัน ทำให้ เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่ง

"น้ำท่วมปี 54" อดีตที่ยากจะลืม

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=L8i3AOiG5ZM

3) สาเหตุการเกิดอุทกภัยมีทั้งสาเหตุจากธรรมชาติและจากมนุษย์ ดังนี้ 3.1) สาเหตุจากธรรมชาติ ที่สำคัญ ได้แก่

1. ฝนตกหนักจากพายุฝนฟ้าคะนอง เป็นพายุที่เกิดติดต่อกันหลายชั่วโมง มีปริมาณฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต่ำ ​มักเกิดในช่วงต้นฤดูฝนหรือฤดูร้อน

2. ฝนตกหนักจากพายุหมุนเขตร้อน เมื่อพายุเคลื่อนขึ้นฝั่งจะเกิดน้ำท่วม เป็นบริเวณกว้าง รวมถึงทำให้เกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง

3. อิทธิพลจากลมมรสุม เป็นการหมุนเวียนของลมที่พัดมาตามฤดู พัดเอา ความชื้นจากมหาสมุทรขึ้นสู่ชายฝั่ง

4. น้ำทะเลหนุน เมื่อน้ำที่ไหลลงมาตามแม่น้ำมีปริมาณมาก หรือช่วงเวลา ที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินกว่าปกติ ทำให้น้ำไม่อาจ​ไหลลงสู่ทะเล ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งหรือน้ำท่วมได้

3.2) สาเหตุจากมนุษย์ ที่สำคัญ ได้แก่

1. การตัดไม้ทำลายป่า เมื่อฝนตกหนักจะทำให้น้ำไหลเร็วและแรงจนก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน หรือน้ำท่วมเฉพาะพื้นที่ และ​เป็นสาเหตุของดินถล่มด้วย

2. การขยายเขตเมืองรุกล้ำพื้นที่ลุ่มต่ำทำให้ไม่มีพื้นที่รับน้ำ

3. การสร้างสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำและมีระบบการระบายน้ำไม่เพียงพอทำให้น้ำระบายได้ช้า เอ่อล้น และเกิดปัญหาน้ำท่วม

4. การจัดการน้ำที่ขาดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพื้นที่ท้ายเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ

4) การกระจายการเกิดอุทกภัยของโลก

แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงการเกิดอุทกภัยของโลก

White background

ที่มา : www.mapsontheweb.zoom-maps.com

จากแผนที่ อุทกภัยมักเกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบใกล้ชายฝั่ง ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย​มากที่สุด แต่ในพื้นที่อื่น ๆ ก็มีโอกาสเกิดอุทกภัยได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพื้นที่ดังกล่าวฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลา​นาน ประเทศบังกลาเทศมีแนวโน้ม ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมมากที่สุดในโลก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็น​ที่ราบลุ่ม แม่น้ำ ทั้งยังตั้งอยู่ระหว่างเชิงเขาหิมาลัยและมหาสมุทรอินเดีย และเผชิญกับฤดูมรสุมที่ยาวนาน เป็นสาเหตุสำคัญ​ของการเกิดฝนตกหนัก

นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่ชายฝั่งด้านตะวันออกทั้งหมดของภาคพื้นทวีปจะเสี่ยงต่อการ เกิดอุทกภัยมากกว่าพื้นที่ชายฝั่ง​ด้านตะวันตก เพราะพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดจะเคลื่อนตัว ในมหาสมุทรจากทางตะวันออกไปทางตะวันตก ทำให้พื้นที่ฝั่ง​ตะวันออกได้รับแรงปะทะมากกว่า บริเวณเชิงเขาของเทือกเขาใหญ่ทุกแห่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยเช่นกัน

ประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยเกือบทั่ว​ประเทศ ระดับความรุนแรงและความเสียหายแตกต่าง​กันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ เช่นภาคเหนือตอนบน​มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับที่ราบ ทำให้ประสบ​ภัยน้ำท่วมฉับพลันภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน​กลางเป็นที่ราบลุ่มอุทกภัยจะเกิดจากน้ำท่วมขังและน้ำ​ล้นตลิ่ง ภาคกลางพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ


อุทกภัยที่เกิดขึ้นเกิดจากน้ำท่วมขัง น้ำเหนือไหล​บ่า น้ำทะเลหนุน ส่วนภาคใต้มีทะเลขนาบทั้งสองฝั่ง ได้​รับอิทธิพลจากลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน ทั้งยังมี​ภูเขาสูงวางตัวแนวเหนือ -ใต้ ทำให้ภาคใต้ประสบ​อุทกภัยจากฝนตกหนัก น้ำทะเลหนุนสูง และน้ำท่วมฉับ​พลันจากฝนที่ตกบริเวณที่ลาดเชิงเขาและที่ลุ่มชายฝั่ง

แผนที่แสดงพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ประเทศไทย เนื่องจากพายุ​โซนร้อน "เซินกา" วันที่ 24 - 29 กรกฎาคม 2560

5) ภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากอุทกภัยรุนแรง มีดังนี้

1. น้ำป่าไหลหลาก ทำให้บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้างถูกน้ำทำลาย รวมทั้ง​เกิดการสูญเสียชีวิตและผู้คนได้รับบาดเจ็บ

2. เกิดแผ่นดินถล่ม ในพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก เมื่อฝนตกหนักดินที่​มีความชื้นสูงจะเลื่อนไหลไปตามความลาดชัน ต้นไม้ เศษหินจะเลื่อนตามไป​ด้วย หมู่บ้าน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ และพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหาย

3. ภัยจากไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้ารั่ว ภัยจากไฟฟ้าดูดในช่วงน้ำท่วมเป็น​อันตรายใกล้ตัว มักเกิดขึ้นในที่พักอาศัยของประชาชน โดยเฉพาะอาคารชั้น​เดียวมีความเสี่ยงน้ำท่วมปลั๊กไฟได้ง่าย ทำให้ไฟฟ้ารั่วไหลเป็นอันตรายต่อ​ชีวิต

4. ภัยจากสัตว์ร้าย เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม สัตว์จะหนีน้ำเข้ามาอยู่อาศัย​ตามบ้านเรือน รวมถึงสัตว์มีพิษที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ เช่น จระเข้งู ​ตะขาบ แมงป่อง

5. มลพิษทางน้ำ จากน้ำเน่าเสียที่เกิดจากการขังของน้ำในบ้านเรือน​หรือชุมชนเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการระบาดของโรคที่มากับน้ำ เช่น​น้ำกัดเท้า อหิวาตกโรค

6. ความเสียหายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากระหว่างเกิดอุทกภัย​ระบบการสื่อสารและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้รับความเสียหาย เส้นทาง​คมนาคมถูกตัดขาด อาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ถูกน้ำพัดทำลาย

Man Pouring Water from Dipper on Blue and Grey House
Home Button 3D Illustration
Clear Blue Sky
2 ไฟป า wildf ire
Air Pollution from Forest Fire

1) คำจำกัดควาไฟป่าเป็นไฟที่เผาไหม้เชื้อเพลิง​ในป่าและลุกลามโดยไม่มีขอบเขต เชื้อเพลิง​ธรรมชาติที่ถูกเผาไหม้ ได้แก่ เศษไม้ ปลายไม้ ​ลูกไม้ หญ้า เศษวัชพืช ไม้พุ่ม และต้นไม้

2) กระบวนการเกิดไฟป่า การเกิดไฟป่าเป็นผลมา จากกระบวนการทางเคมี ​โดยเกิดจากการรวมกันของปัจจัยที่มีอยู่ตาม ธรรมชาติ 3 ปัจจัย ได้แก่ เชื้อ​เพลิง ออกซิเจน และความร้อน ที่เรียกว่า “สามเหลี่ยมไฟ” (fire triangle)

สามเหลี่ยมไฟ

2.1) เชื้อเพลิง สมบัติของเชื้อเพลิงมีอิทธิพลต่อการติดไฟแตกต่างกัน ได้แก่ความชื้นของเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงที่มีความชื้นต่ำ ​ย่อมติดไฟได้ง่ายและลุกลามเร็วกว่าเชื้อเพลิงที่มีความชื้นสูง ขนาดของเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงขนาดเล็กจะลุกไหม้ได้เร็วและง่ายกว่า​เชื้อเพลิงขนาดใหญ่ปริมาณของเชื้อเพลิงหากมีเชื้อเพลิงจำนวนมากจะติดไฟและลุกลามได้เร็ว และความต่อเนื่องของ เชื้อ​เพลิง หากเชื้อเพลิงอยู่ติดชิดกัน ไฟย่อมลุกลามต่อเนื่องได้เร็ว

2.2) ออกซิเจน เป็นแก๊สที่เป็นองค์ประกอบหลักของอากาศโดยทั่วไป ในป่าจะมีออกซิเจนกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอ​อย่างไรก็ตามปริมาณและสัดส่วนของออกซิเจนในอากาศในป่า ณ บริเวณอื่น ๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้บ้างตามการผันแปรของ​ความเร็วและทิศทางลม

2.3) ความร้อน แหล่งความร้อนที่ทำให้เกิดไฟป่าแบ่งเป็น 2ประเภทคือ แหล่งค วามร้อนจากธรรมชาติเช่นฟ้าผ่า​การเสียดสีของกิ่งไม้การรวมแสงอาทิตย์ผ่านหยดน้ำค้างภูเขาไฟปะทุและแหล่งความร้อนจากมนุษย์ซึ่งเกิดจากการจุดไฟใน​ป่าด้วยสาเหตุต่าง ๆ

3) ประเภทของไฟป่า แบ่งตามประเภทเชื้อเพลิงที่ถูกเผาไหม้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1 ไฟเร อนยอด
Lined Wireframe Square Box

เป็นไฟที่ไหม้ลุกลามไปตาม

เรือนยอดของต้นไม้ มักเกิดใน

ป่าสนเขตอบอุ่น ไฟเรือนยอด

มีความรุนแรง สร้างความเสีย

หายแก่ป่ามากและยากแก่การ

ดับไฟ

2 ไฟผ วด น
Lined Wireframe Square Box

เป็นไฟที่เผาไหม้เชื้อเพลิงบน

ผิวดิน เช่น ไม้พุ่ม วัชพืช 

เครือเถา อาจลุกลามได้เร็วและ

รุนแรงขึ้นอยู่กับลักษณะและ

ความหนาแน่นของเชื้อเพลิง

บนพื้นที่ป่า

3 ไฟใต ด น
Lined Wireframe Square Box

เป็นไฟที่เผาไหม้เชื้อเพลิงที่ยัง

ทับถมอยู่ในดินอาจเกิดภาย

หลังไฟผิวดิน และเผาไหม้

อย่างช้า ๆ ไม่มีเปลวไฟให้เห็น

หรือมีควันเล็กน้อย มักเกิดใน

ประเทศเขตอบอุ่นหรือที่สูง

จากระดับน้ำทะเลมาก

4) สาเหตุการเกิดไฟป่า  แบ่งได้ ดังนี้

4.1) สาเหตุจากธรรมชาติ มีดังนี้

1. ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดไฟป่าในเขตอบอุ่นของต่างประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา​มีทั้งฟ้าผ่าแห้ง คือ ฟ้าที่ผ่าในขณะที่ไม่มีฝน และฟ้าผ่าเปียก เกิดขึ้นในฤดูร้อนที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

2. กิ่งไม้เสียดสีกัน เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าที่มีไม้ขึ้นอย่างหนาแน่น และมีสภาพอากาศร้อนและแห้งจัด มีกระแสลม​แรง เช่น ในป่าไผ่ ป่าสน

3. การปะทุของภูเขาไฟ

4. ภาวะภัยแล้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่าบ่อยขึ้น เนื่องจาก​มีระยะเวลาเกิดความแห้งแล้งถี่มากขึ้น

4.2) สาเหตุจากมนุษย์ มีดังนี้

1. การเผาป่าเพื่อเก็บหาของป่าการล่าสัตว์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดไฟป่ารุนแรงมากที่สุด เพื่อให้ป่าโล่งจะได้​เข้าพื้นที่ป่าได้สะดวก สัตว์ป่าหนีไฟออกมาให้ล่าได้ง่าย 

2. การเผาไร่หรือเศษพืชเกษตร เพื่อกำจัดวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะ​ปลูกในรอบต่อไป

3. ความประมาทในการเข้าใช้พื้นที่หรือพักแรมในป่า มีการก่อกองไฟแล้ว ลืมดับ หรือดับไม่สนิท

5) การกระจายการเกิดไฟป่าของโลก


แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงการเกิดไฟป่าของโลก

White background

ที่มา : https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/map/

จากแผนที่ พบว่าบริ่วณที่มีโอกาสในการเกิดไฟป่าไดมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของโลกได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ ใน​สหรัฐอเมริกา แคนาดา ทวีปอเมริกาใต้ เช่น บราซิล อาร์เจนตินาอุรุกวัย ทวีปแอฟริกา เช่น แองโกลา คองโก แทนซาเนีย ​แซมเบีย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตอบอุ่น และมีกระแสนํ้าเย็นไหลผ่าน ทําให้ปริมาณไอนํ้าในบรรยากาศน้อย มี​ความแห้งแล้งมากยิ่งขึ้น เช่น กระแสนํ้าเย็นเบงเกวลาไหลเลียบชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา

กระแสนํ้าเย็นเปรูไหลเลียบชายฝั่งด้านตะวันตก​ของทวีปอเมริกาใต้ ความแห้งแล้งจึงทําให้พื้นที่​ดังกล่าวมีโอกาสเสี่ยงเกิดไฟป่าจากสาเหตุทาง​ธรรมชาติได้มากกว่าปกติ

ไฟป่าในประเทศไทยเกิดจากการกระทํา​ของมนุษย์เป็นหลักและบางส่วนเกิดจาก​ธรรมชาติ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - เมษายน ​เป็นช่วงที่มีสถิติการเกิดไฟป่าสูง เพราะสภาพ​อากาศแห้ง ต้นไม้ผลัดใบและหญ้าแห้งตายจํา​นวนมาก เมื่อเกิดไฟป่าจึงลุกลามอย่างรวดเร็ว​โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์- ​เมษายน เป็นช่วงที่มีจุดความร้อนจํานวนมาก ​จึงเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าสูง โดยเฉพาะพื้นที่​บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกเสี่ยงต่อการ​เกิดไฟป่าสูง ขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออก-เฉียง​เหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ เสี่ยงต่อการ​เกิดไฟป่ารองลงมาตามลําดับ

แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงการเกิดไฟป่าในประเทศไทย

ที่มา : ส่วนควบคุมไฟป่า สํานักป้องกัน ปราบปราม และ

ควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

6) ภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากไฟป่ารุนแรง มีดังนี้

1. ปัญหาหมอกควัน ก่อให้เกิดสภาวะอากาศเป็นพิษทำลายสุขภาพของมนุษย์โดยเฉพาะโรคระบบทางเดิน​หายใจ นอกจากนี้ ควันไฟยังบดบังแสงอาทิตย์ ส่งผลต่อทัศนวิสัยในการขับขี่บางครั้งทำให้เครื่องบินไม่สามารถลงจอดได้​ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และลดความสวยงามของภูมิประเทศทางธรรมชาติ

2. พื้นที่ป่าและพรรณไม้ถูกเผาไหม้ ไม้พุ่มและทุ่งหญ้าถูกทำลาย ต้นไม้เกิดแผลไฟไหม้และทำให้ต้นไม้ตาย อย่างไร​ก็ตาม ในระยะยาวไฟป่าอาจมีประโยชน์ทำให้เกิดทุ่งหญ้าแทนพื้นที่ป่าได้ หรือพรรณไม้หลายชนิดอาจปรับตัวจากการถูก​ไฟป่าเผา จนกลายเป็นระบบนิเวศใหม่

3. ทำให้หน้าดินเปิดโล่ง จากการที่ไฟป่าเผาทำลายสิ่งปกคลุมดิน ทำให้ดินเสื่อมสภาพ เมื่อมีฝนตก หน้าดินไม่มีสิ่ง​ปกคลุมทำให้น้ำไหลบ่าไปบนหน้าดิน เกิดการพังทลายของดินตะกอนดินไหลลงสู่แหล่งน้ำทำให้ลำน้ำตื้นเขินและคุณภาพ​น้ำเสื่อมโทรมลง

4. สัตว์ป่าลดลงและเกิดการอพยพของสัตว์ป่า เนื่องจากแหล่งอาหาร แหล่งน้ำและที่อยู่อาศัยถูกทำลาย

3 สาเหตุ "ไฟป่า ฮาวาย" โหมรุนแรง

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=GLOMCReN5qQ

Home Button 3D Illustration
Clear Blue Sky
3 ภ ยแล ง

1) คำจำกัดความ ภัยแล้งเป็นภัยที่เกิดขึ้นจากการที่มีฝนตกน้อยกว่า​ปกติต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ำให้เกิดการขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการอุปโภค​บริโภคและการเกษตร ความรุนแรงของ ช่วงฝนแล้งนั้นขึ้นอยู่กับ​ความชื้นในอากาศ ระยะเวลาที่เกิดความแห้งแล้ง และขนาดของพื้นที่ ​ที่ได้รับผลกระทบ

2) กระบวนการเกิดภัยแล้งมีดังนี้

• ในช่วงฤดูฝนเกิดฝนแล้ง หรือเกิดฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน ทำให้ปริมาณฝน เฉลี่ยต่ำกว่าค่าปกติ เช่น มีฝนตกน้อยกว่า ​1 มิลลิเมตรติดต่อกันเกิน 15 วัน

• พื้นที่นอกเขตชลประทานขาดแคลนน้ำเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และใช้ ในครัวเรือน

• พื้นดินแห้ง พืชขาดน้ำนานจะเหี่ยวและล้มตาย สัตว์เลี้ยงต้องย้ายไปหาแหล่งน้ำ

• ระดับน้ำใต้ดินลดลง ต้นไม้ ใหญ่จะเหี่ยวเฉา พื้นที่โล่งที่พืชล้มตายไปแล้ว ดินแตก ระแหง เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ​ประเทศไทยที่มีเกลือหิน (rock salt) อยู่ใต้ดินนั้น บริเวณผิวหน้าดินจะมีขี้เกลือตกกระฉาบอยู่ตามพื้นดิน

3) ประเภทของภัยแล้งภัยแล้ง มี 3 ประเภท ดังนี้

3.1) ภัยแล้งทางอุตุนิยมวิทยา (meteorological drought) เป็นภัยแล้งที่เกิดขึ้น เนื่องจากปริมาณฝนโดยเฉลี่ยมีปริมาณน้อย​กว่าค่าเฉลี่ย เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของช่วงระยะ เวลายาวนานในอดีต

3.2) ภัยแล้งทางการเกษตร (agricultural drought) เป็นภัยแล้งที่ความชื้นในดิน ไม่เพียงพอที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดย​เปรียบเทียบจากผลผลิตของพืชที่ปลูกในสภาวะที่พืช ใช้น้ำปกติ หากผลผลิตที่ได้ ในช่วงเวลานั้นมีปริมาณน้อยกว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ​อาจมีสาเหตุจากน้ำ ในดินขาดแคลน ทำให้ปริมาณและผลผลิตทางการเกษตรลดน้อยลง

3.3) ภัยแล้งทางอุทกวิทยา (hydrological drought) เป็นภัยแล้งที่ปริมาณน้ำ ในแม่น้ำ หนอง บึง ทะเลสาบ รวมถึงอ่างเก็บน้ำ​ลดลง มีระดับต่ำกว่าปกติ และระดับน้ำใต้ดินก็มี ระดับลดลงต่ำกว่าปกติ

4) สาเหตุการเกิดภัยแล้งมีดังนี้

4.1) เกิดการผันแปรของสภาพอากาศ ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ตกน้อย ทิ้งช่วง ทำให้มีน้ำกักเก็บในแหล่งน้ำน้อย ในฤดูแล้งที่​อากาศร้อนการระเหยของน้ำจะมีมากขึ้น ทำให้น้ำในแหล่งน้ำลดระดับจนถึงภาวะวิกฤต

4.2) ความผิดปกติของตำแหน่งร่องมรสุม ทำให้มีฝนตกในพื้นที่น้อยกว่าปกติ หรือความผิดปกติเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อน​ก่อตัวเคลื่อนที่ผ่านมาน้อยกว่าปกติ

4.3) ขาดแหล่งกักเก็บน้ำที่เพียงพอในช่วงภัยแล้ง ซึ่งอาจเกิดจากข้อจำกัดทางภูมิประเทศหรือแหล่งน้ำได้รับการพัฒนาที่ไม่​เหมาะสม มีขนาดเล็กเกินไป นำมาใช้ประโยชน์ไม่เพียงพอ หรือบางแห่งอยู่ไกลจากชุมชนเกินไป

4.4) การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ขาดความชุ่มชื้นและซึมซับเก็บน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของภูมิ​อากาศ เช่น ความชื้น อุณหภูมิ

4.5) ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น จากจำนวนประชากรที่มากขึ้น ทำให้น้ำมีปริมาณลดน้อยลงอย่างมาก

5) การกระจายการเกิดภัยแล้งของโลก


แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงการเกิดภัยแล้งของโลก

rectangle white shadow banner

ที่มา : www.researchgate.net/publication/303312551

จากแผนที่ จะเห็นว่าในภูมิอากาศเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปต่าง ๆ มีระดับความรุนแรงของภัยแล้งแตกต่างกันตาม​ช่วงระยะเวลาเกิดฝนแล้งและฝนทิ้งช่วง ซึ่งเป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญ พื้นที่ประสบภัยแล้ง เช่น ทวีปเอเชียในประเทศ​อินเดีย เกิดภัยแล้งจากแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในประเทศไทย ฝนตกน้อย และไม่ตกเลยในช่วงต้นเดือนเมษายน - ​พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียในรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐแถบชายฝั่งตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย ​ไม่มีฝนตกในช่วงเดือนสิงหาคม - ต้นกันยายน พ.ศ. 2561 ทวีปแอฟริกาเผชิญภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี บริเวณจะงอย​แอฟริกา ช่วงกลาง พ.ศ. 2565

จะงอยแห่งแอฟริกาเผชิญภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=9f1bKKOZJUc

ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจาก ฝนตกน้อยกว่าปกติ หรือเกิดฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน โดยจะเกิดใน 2 ช่วง ได้แก่ ​ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องฤดูร้อน เริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนลดลงจน​เข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ภัยลักษณะนี้เกิดประจําทุกปี และช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือน​มิถุนายน - กรกฎาคม มีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้เกิดขึ้นในบางบริเวณ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง​ภาคเหนือ ภาคตะวันตก เนื่องจากเป็นบริเวณที่อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง

rectangle white shadow banner

6) ภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากภัยแล้งรุนแรง มีดังนี้

1. ขาดแคลนนน้ำสำหรับใช้ ในการอุปโภคบริโภค การเกษตร การประมง ปศุสัตว์ ระบบนิเวศ และการผลิตพลังงาน​จากน้ำ

2. สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแหล่งน้ำตายและสูญพันธุ์ก่อให้เกิดความเสียหายต่อถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าตามมา

3. เกิดไฟป่า เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแล้งจัด

4. สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ เพราะกระบวนการผลิตทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมได้รับความเสีย​หาย ทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค

Drought and water scarcity
Drought
Home Button 3D Illustration
Clear Blue Sky

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค

เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค

เร ยนร เพ มเต มผ านผลงานน กเร ยน

ชื่อผลงาน : สื่อภูมิสารสนเทศ เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


รางวัล : ครูที่ปรึกษารางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ การประกวดสื่อภูมิสารสนเทศ ครั้งที่ 4

จัดโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) GISTDA

Flat TV Screen
White Message Box Vector

"ภัยพิบัติธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ"


เว บไซต หน วยงานท เก ยวข อง

กรมชลประทาน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

https://www.dmr.go.th/

Home Button 3D Illustration

กรมอุตุนิยมวิทยา

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

https://earthquake.tmd.go.th/

Clear Blue Sky

ทบทวนความรู้

เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางบรรยากาศภาค

เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางบรรยากาศภาค

Play game button ui

จะทำอย่างไรเมื่อเกิดไฟป่า

https://wordwall.net/th/resource/73980299

Home Button 3D Illustration
Clear Blue Sky

สนุกคิดสนุกทำ

เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค

เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางชีวภาค

คำช แจง

กิจกรรมที่ 1 ให้นักเรียนดูคลิปการทดลองต่อไปนี้และแล้วสรุปองค์ความรู้ลงสมุดโดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ดังนี้

1) ถามเชิงภูมิศาสตร์ 2) การรวบรวมข้อมูล 3) การจัดการข้อมูล 4) การวิเคราะห์ข้อมูล 5) การสรุปเพื่อหาคำตอบ

Weather Experiment: Creating your own 'thunderstorm'

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=aI8Mf83ECaM

กิจกรรมที่ 2

  • ให้นักเรียนกลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มศึกษาภัยพิบัติทางชีวภาค ที่สนใจ 1 เรื่อง
  • ร่วมกันวิเคราะห์และออกแบบกิจกรรมการทดลอง ตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์
  • นำเสนอผลงาน และคลิปวิดีโอการทดลอง ผ่านแอพพลิเคชัน CANVA
  • ใช้วัสดุในการทำการทดลองโดยใช้หลักความพอเพียง และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ช องทางการส งงาน
Email

tiwaaa@watklang.ac.th

เพ อน คร ท ปร กษา
Home Button 3D Illustration

line กลุ่มวิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Clear Blue Sky

ทดสอบหลังเรียน

เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางบรรยากาศภาค

เรื่อง ภัยพิบัติธรรมชาติทางบรรยากาศภาค

คำช แจง
  • แบบทดสอบจำนวน 10 ข้อ
  • ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
  • ให้นักเรียนคลิ๊กปุ่ม start เพื่อเริ่มทำแบบทดสอบ
Start button
Home Button 3D Illustration